ปริญญาเอก

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (จิตวิทยาประยุกต์)

การประยุกต์จิตวิทยาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความสุขของบุคคลและสังคมได้อย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร เมื่อนิสิตจบการศึกษา (ELOs)

ELO1

สามารถประเมินวิธีวิทยาการวิจัยเพื่อการออกแบบนวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาประยุกต์ได้อย่างเชี่ยวชาญ

ELO2

สามารถออกแบบและปรับปรุงโปรแกรมหรือโครงการเพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาบุคคล องค์กร และสังคมด้วยองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาประยุกต์อย่างมีจรรยาบรรณ

ELO3

สามารถเป็นผู้นำในการบริหารจัดการโครงการและการบริการทางจิตวิทยาประยุกต์ในบริบทที่หลากหลายอย่างมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ

รายละเอียดหลักสูตร

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อหลักสูตร

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ (ปร.ด. (จิตวิทยาประยุกต์))
  • Doctor of Philosophy Program in Applied Psychology (Ph.D. (Applied Psychology))

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร แบบ 2.1 จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

รูปแบบของหลักสูตร หลักสูตรระดับปริญญาเอก 3 ปี แบบ 2.1

ภาษาที่ใช้ ภาษาไทย เอกสารและตำราเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติผู้เรียน

ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ จะต้องมีผลการสอบภาษาอังกฤษได้ตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด นอกจากนั้น ผู้สมัครต้องมีคุณสมบัติเพิ่มเติมแยกตามกลุ่มวิชาที่สมัครดังต่อไปนี้

กลุ่มวิชาจิตวิทยาการเรียนรู้ และ กลุ่มจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททุกสาขาวิชา

กลุ่มวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือโทในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งได้แก่ จิตวิทยาการปรึกษา จิตวิทยาการแนะแนวหรือจิตวิทยาคลินิก

กลุ่มวิชาจิตวิทยาสุขภาพ
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท โดยต้องมีวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโทในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง ได้แก่ จิตวิทยา หรือวิทยาศาสตร์สุขภาพ

วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน หลักสูตรจะจัดการเรียนการสอนในวันศุกร์เวลา 17.00-20.00 น. และวันเสาร์ เวลา 09.00-16.00 น.

  1. ภาคต้น เดือนสิงหาคม – ธันวาคม
  2. ภาคปลาย เดือนมกราคม – พฤษภาคม
  3. ภาคฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – กรกฎาคม

หมายเหตุ ผู้เรียนสามารถศึกษาจบหลักสูตรได้ภายใน 3 ปีการศึกษา โดยสามารถเริ่มทำปริญญานิพนธ์ได้ตั้งแต่ภาคเรียนแรกที่เข้าศึกษา และเริ่มการฝึกปฏิบัติด้านจิตวิทยาได้ในภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษาที่ 1 ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา หน่วยกิต
1. หมวดวิชาบังคับ 4 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า) 8 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะทาง 6
– กลุ่มวิชาเลือกอิสระ 2
3. ปริญญานิพนธ์ 36 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์
ประธานหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อมราพร สุรการ
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเทพ พูนพล
กรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ดุษฎี อินทรประเสริฐ
กรรมการ

รองศาสตราจารย์ นพ. ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ พิมพ์ทอง
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาณี พูนพล
กรรมการ

อาจารย์ ดร.นฤมล พระใหญ่
กรรมการ

นางกรรณิการ์ ศรีเกตุ
ผู้ประสานงานหลักสูตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

สามารถประกอบอาชีพต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ได้ทั้งในหน่วยงานทางการศึกษา หน่วยงานภาครัฐและเอกชน

  1. ครูอาจารย์และนักวิจัยด้านจิตวิทยาและการวิจัย ในสถาบันอุดมศึกษา
  2. นักบริหารองค์กรรัฐและเอกชน ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการให้บริการ
  3. บุคลากรเชี่ยวชาญฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรภาครัฐและเอกชน เช่น ผู้เชี่ยวชาญพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ช เจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายสรรหาและคัดเลือกบุคลากร เป็นต้น
  4. ผู้เชี่ยวชาญด้านการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาระดับบุคคล และระดับกลุ่ม
  5. นักจิตวิทยาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแล/ฟื้นฟูผู้รับบริการที่มีปัญหาด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต
  6. อาชีพอิสระเกี่ยวกับที่ปรึกษาอิสระแก่องค์การเพื่อการพัฒนางานให้เป็นมืออาชีพ การพัฒนาผู้นำและพัฒนาผู้ตาม การพัฒนาทีม ผู้ออกแบบการจัดการเรียนรู้และการอบรมทางจิตวิทยา