ปริญญาเอก-เน้นวิจัย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์)

(แบบ 1.1)

ผลิตนักวิจัย นักพัฒนา และนวัตกรที่สร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพบุคคลและสังคมอย่างยั่งยืน

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร เมื่อนิสิตจบการศึกษา (ELOs)

ELO1

สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและวิธีวิทยาการวิจัย เพื่อประยุกต์ใช้และสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางพฤติกรรมศาสตร์ และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง

ELO2

สามารถประเมินอย่างเป็นระบบและใช้วิจารณญาณตรวจสอบงานวิจัยเพื่อเสนอแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาบุคคลและสังคม

ELO3

พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านพฤติกรรมศาสตร์อย ่างสร้างสรรค์ ตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน สังคม และประเทศตามหลักจริยธรรมวิจัย

ELO4

เป็นผู้น าในการวิจัยและสร้างเครือข่ายการวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาสังคม

รายละเอียดหลักสูตร

ข้อมูลพื้นฐาน

ชื่อหลักสูตร

  • หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
  • Doctor of Philosophy Program in Applied Behavioral Science Research

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
  • Doctor of Philosophy (Ph.D. ) Applied Behavioral Science Research

คุณสมบัติผู้เรียน

  1. เป็นชาวไทยหรือชาวต่างประเทศที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าในสาขาที่มีการทำปริญญานิพนธ์/วิทยานิพนธ์
  2. มีประสบการณ์ในการทำวิจัยหลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทอย่างน้อย 1 เรื่อง หรือมีประสบการณ์ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานในประเทศ/ต่างประเทศ ทั้งนี้อาจเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย หรือ นักวิจัยร่วม
  3. มีผลงานวิจัยที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปริญญานิพนธ์ระดับปริญญาโทตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ ทั้งนี้อาจเป็นชื่อผู้ประพันธ์อันดับแรก (first author) หรือผู้ประพันธ์บรรณกิจ (corresponding author) หรือนักวิจัยร่วม
  4. สื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
  5. ในกรณีที่เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท จากหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ ในปีการศึกษาที่เปิดรับสมัครไม่จำเป็นต้องมีคุณสมบัติข้อที่ 2. และ 3. แต่ทั้งนี้ต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการท าวิจัยในฐานะนักวิจัยร่วมในระหว่างศึกษา
  6. มีคุณสมบัติทั่วไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ว่าด้วยการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2559 (ภาคผนวก ก)

โครงสร้างหลักสูตร

หมวดวิชา หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ
– กลุ่มวิชาระเบียบวิธีวิจัย-
– กลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์
ข. หมวดวิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า)
ค. ปริญญานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
หมายเหตุ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (แบบ 1.1) เป็นแผนการศึกษาที่เน้นการวิจัยโดยไม่มีรายวิชา อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนดแผนการจัดกิจกรรมของหลักสูตร มีรายละเอียดเพิ่มในหัวข้อ 3.1.4 แผนการศึกษา

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
ประธานหลักสูตร

รองศาสตราจารย์ ดร.อังศินันท์ อินทรกำแหง
กรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ศรัณย์ พิมพ์ทอง
กรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร.นริสรา พึ่งโพธิ์สภ
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำชัย ศุภฤกษ์ ชัยสกุล
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คานู พรียา โมฮัน

กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเทพ พูนพล
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ ตันติวิวัทน์
กรรมการ

อาจารย์ ดร.ฮันเวเดส ดาววิสันต์
กรรมการ

อาจารย์ ดร.ชาริน สุวรรณวงศ์
กรรมการและเลขานุการ

นางสาวพิจิตรา ธรรมสถิตย์
ผู้ประสานงานหลักสูตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  1. อาจารย์ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายและพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลและสังคม เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา การศึกษา การพัฒนามนุษย์และสังคม การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มานุษยวิทยาเชิงธุรกิจ และเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เป็นต้น
  2. นวัตกรด้านพฤติกรรมศาสตร์
  3. นักบริหารโครงการในหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน
  4. นักวิจัยและนักวิชาการในหน่วยงานของภาครัฐและภาคเอกชน
  5. นักวิเคราะห์นโยบายและวางแผนกลยุทธ์ด้านพฤติกรรมศาสตร์ ในหน่วยงานของภาครัฐหรือเอกชน
  6. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวด้านการวิจัยและฝึกอบรม เช่น บริษัทวิจัย บริษัทฝึกอบรม และพัฒนาบุคลากร เป็นต้น

เอกสารหลักสูตรและ URL การสมัครสอบ

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมเป็นกลุ่มตัวอย่างงานวิจัยเพื่อการพัฒนาการสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ผ่าน OpenChat

สอบถามข้อมูลเพิ่มเตอมเกี่ยวกับหลักสูตรของสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ ผ่าน OpenChat