ปริญญาโท

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์)

การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพบุคคลและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร เมื่อนิสิตจบการศึกษา (ELOs)

ELO1

สามารถอธิบายองค์ความรู้ทฤษฎีและหลักการที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมศาสตร์และวิธีวิทยาการวิจัย

ELO2

สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ตามจรรยาวิชาชีพวิจัย

ELO3

สามารถวิเคราะห์และประเมินข้อมูลงานวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพได้โดยคำนึงถึงมาตรฐานและจรรยาวิชาชีพวิจัย

ELO4

สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อการแก้ปัญหาและพัฒนาบุคคลและสังคม

ELO5

สามารถถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย
ในระดับต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม

รายละเอียดหลักสูตร

รายวิชา

หมวดวิชา หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ 18  หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาระเบียบวิธีวิจัย 12 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า) 6 หน่วยกิต
ค. ปริญญานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาบังคับ (18 หน่วยกิต)
กลุ่มวิชาระเบียบวิธีวิจัย (12 หน่วยกิต)
วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์
การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัดทางพฤติกรรมศาสตร์
สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลทางพฤติกรรมศาสตร์
ปฏิบัติการวิจัย
กลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์ (6 หน่วยกิต)
พฤติกรรมศาสตร์เชิงจิตวิทยา
พฤติกรรมศาสตร์ในหลากหลายมุมมอง
ข. หมวดวิชาเลือก (ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต)
นิสิตสามารถเลือกเรียนวิชาเลือกในกลุ่มวิชาระเบียบวิธีวิจัย และ/หรือกลุ่มวิชาพฤติกรรมศาสตร์ หรือสามารถเลือกเรียนรายวิชาอื่นนอกหลักสูตร นอกส่วนงาน และนอกมหาวิทยาลัยได้ ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และบัณฑิตวิทยาลัยอนุมัติ รวมแล้วไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิตวิชาเลือกในกลุ่มวิชาระเบียบวิธีวิจัย

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กาญจนา ภัทราวิวัฒน์
ประธานกรรมการ

รองศาสตราจารย์ ดร.ฐาศุกร์ จันประเสริฐ
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นำชัย ศุภฤกษ์ ชัยสกุล
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นริสรา พึ่งโพธิ์สภ
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประทีป จินงี่
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พลเทพ พูนพล
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดารัตน์ ตินติวิวัทน์
กรรมการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชญาณี พูนพล
กรรมการและเลขานุการ

นางสาวพิจิตรา ธรรมสถิตย์
ผู้ประสานงานหลักสูตร

อาชีพหลังสำเร็จการศึกษา

  1. นักวิจัยในหน่วยงานของรัฐและเอกชน หรือนักวิจัยอิสระ
  2. นักวิชาการหรืออาจารย์ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาการวิจัยหรือสาขาวิชา ที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายและพัฒนาพฤติกรรมของบุคคลและสังคม เช่น จิตวิทยา สังคมวิทยา การศึกษา การพัฒนามนุษย์และสังคม การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
  3. ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาบุคคล สังคม และชุมชนในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
  4. นักประเมินโครงการและนักบริหารโครงการในหน่วยงานของรัฐและเอกชน
  5. ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัวด้านการวิจัยและฝึกอบรม