ทำไม 𝐆𝐞𝐧 𝐙 จึงคาดหวังผู้นำที่มีบทบาทเป็น “𝐌𝐞𝐧𝐭𝐨𝐫” หรือ “𝐂𝐨𝐚𝐜𝐡” มากกว่าการสั่งงานแบบไร้การชี้แนะ
1) Gen Z ต้องการอิสระในการตัดสินใจ
– พวกเขาต้องการมี “ทางเลือก” ในการทำงานของตนเอง
– ไม่ต้องการถูกควบคุมหรือกำหนดโดยหัวหน้าที่มีลักษณะเผด็จการ

2) Gen Z คาดหวังการสนับสนุนและคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง
– ต้องการหัวหน้าที่ “คอยชี้แนะแนวทาง” มากกว่าคนที่ “สั่งให้ทำ”
– การพัฒนา “intrapreneurship” หรือแนวคิดผู้ประกอบการภายในองค์กร ต้องใช้วิธีการ Coach เพื่อช่วยให้พนักงาน Gen Z เติบโต

3) Gen Z มองหาหัวหน้าที่ช่วยพัฒนา ไม่ใช่แค่ประเมินผลการปฏิบัติงาน
– ต้องการ Feedback แบบ Real-Time มากกว่าการรอผลการประเมินประจำปี
– Coaching Leadership ช่วยให้พวกเขารับ Feedback อย่างสม่ำเสมอ

ข้อเสนอแนะดังกล่าว มาจากบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Industrial and Commercial Training โดยผู้เขียนเสนอว่า ในบรรดารูปแบบภาวะผู้นำที่ใช้ในองค์กร ภาวะผู้นำแบบโค้ชชิ่ง (Coaching Leadership Style) เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับลักษณะและแรงจูงใจของพนักงานกลุ่ม Gen Z เนื่องจากเป็นการเปิดโอกาสให้พนักงาน มีอิสระในการตัดสินใจและสามารถกำหนดความก้าวหน้าในสายงานของตนเอง ขณะเดียวกัน หัวหน้างานจะมีบทบาทในการให้คำแนะนำและช่วยเหลือ หากมีอุปสรรคต่าง ๆ เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://www.emerald.com/…/ict-09-2022-0064/full/html
อ้างอิง Pandita, D., Agarwal, Y. and Vapiwala, F. (2023), “Fostering the sustainability of organizational learning: reviewing the role of Gen-Z employees”, Industrial and Commercial Training, Vol. 55 No. 3, pp. 375-387. https://doi.org/10.1108/ICT-09-2022-0064

สรุปความและเรียบเรียงโดย
รศ.ดร.ศรัณย์ พิมพ์ทอง

by Admin

Share

Related Posts