แผนการจัดการเรียนรู้ในหลักสูตร (Course Syllabus) ผ่านสื่อดิจิทัล

ชุดกิจกรรมที่ 1

ความรู้เรื่องความเสี่ยงโรค NCDs จำนวน  3 ชั่วโมง

ชุดกิจกรรมที่ 2

ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียง จำนวน 4 ชั่วโมง

ชุดกิจกรรมที่ 3

การสื่อสารสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงจำนวน  4 ชั่วโมง

ชุดกิจกรรมที่ 4

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงและกิจกรรมสรุป ประกาศชัยชนะ จำนวน  4 ชั่วโมง

หน่วยงานผู้ใช้หลักสูตร และ กลุ่มเป้าหมาย

หน่วยงานผู้ใช้หลักสูตร บุคลากรสุขภาพจากสถานพยาบาลและสถานศึกษารวม 10  หน่วยงาน แต่ละหน่วยงานประกอบด้วย หัวหน้าโครงการและทีมรวม 5 คน/หน่วยงาน รวมอย่างน้อย 50 คน ประกอบด้วย

1) กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
2) คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ องค์รักษ์
3) โรงพยาบาลทรวงอก จ.นนทบุรี
4) คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์  มหาวิทยาลัยนวมินทร์
5) สถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง  กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
6) วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร  จ.ชลบุรี
7) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
8) สาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จ.สิงห์บุรี
9) สถานพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จ.นครนายก
10) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองแวง จ.สระแก้ว

 กลุ่มเป้าหมาย  ประชาชนกลุ่มวัยทำงานอายุ 20-65 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรค NCDs จำนวน 100 คน/หน่วยงานผู้ใช้หลักสูตรมี 10 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 1,000 คน

ช่วงดำเนินการจัดกิจกรรมตั้งแต่ ขั้นเตรียมการจนถึงติดตามผล เดือน มกราคม 2565 – กันยายน 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

          หลักการเกี่ยวกับ การสื่อสารสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นการนำเสนอที่ให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้เข้าใจถึงแก่นแท้ของการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ด้านการสื่อสารสุขภาพ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือ และกระบวนการสำคัญของบุคลากรสุขภาพที่จะคัดสรรหรือออกแบบสื่อสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ เพื่อนำสื่อไปใช้ให้เกิดการเพิ่มพูนความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนทั้งระดับบุคคล ชุมชน บุคลากรสุขภาพจะต้องสื่อสารให้บุคคล ชุมชนและสังคมได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆ กัน โดยบุคลากรสุขภาพจะต้องการทำให้เกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรสุขภาพเองก่อน เพราะเป็นผลลัพธ์ขั้นต้นที่สำคัญของการทำงานด้านสุขศึกษาและการสาธารณสุขของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงอันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของการมีสุขภาพดีทั่วหน้า เพื่อจะได้เกิดการพัฒนาสุขภาพของประชาชนด้วยตัวประชาชนเอง เพราะหากบุคลากรสุขภาพ รู้และเข้าใจหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและแนวทางการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจะสามารถประยุกต์ใช้กระบวนการสื่อสารสุขภาพและรู้วิธีการจัดการที่จะจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกระบวนการเรียนรู้ให้กับประชาชนได้เช่นกัน เสมือนเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันสุขภาพให้กับคนไทยและใช้เป็นเกราะป้องกันและดูแลสุขภาพได้ด้วยตนเอง ทั้งนี้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพทั้งแบบรายบุคคลและแบบกลุ่ม จะมีการสื่อสารเป็นตัวกลางของการสร้างการรับรู้ ความคิด ความเข้าใจ และความตระหนัก ที่นำไปสู่จิตสำนึกในการสร้างสุขภาพที่ดี ในเรื่องพัฒนาการของบุคคล การใช้ชีวิตและครอบครัว การเคลื่อนไหว การออกกำลังกาย การส่งเสริมสมรรถภาพและการป้องกันโรค การสร้างความปลอดภัยในชีวิต หากประชาชนได้รับการสื่อสารจะก่อให้เกิดประโยชน์ เช่น 1) ด้านความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ 2) ส่งเสริมการมีอุปนิสัยที่ดีในเรื่องการกิน การนอน ความสะอาด เพื่อป้องกันสุขภาพของตนเองและบุคคลรอบข้าง 3) หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพและภัยต่างๆ เช่น ยาเสพติด การกินอาหารขยะ พฤติกรรมก่อเกิดโรคเรื้อรัง 4) ประชาชนมีวินัยและปฏิบัติตามกฏระเบียบ และการรู้จักปฏิบัติตามสิทธิของตนเองและเคารพสิทธิของผู้อื่น สิ่งเหล่านี้หากบุคลากรสุขภาพ สามารถสื่อสารได้เข้าใจตรงกันกับประชาชนจะช่วยสร้างความตระหนักและเห็นความสำคัญของการมีสุขภาวะที่ดี

ทั้งนี้ในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพนั้น สามารถทำได้โดยผ่านช่องทางการสื่อสารหลายทางเช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อดิจิตัล สื่อสิ่งพิมพ์ ความร่วมมือทางสังคมผ่านกลุ่ม Line ผ่าน Facebook ผ่าน Application ผ่านเทคโนโลยีมือถือ เป็นต้น ตลอดจนกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพทั้งในภาครัฐและเอกชน เช่น ลดหวาน มัน เค็ม เพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การเลิกสูบหรี่เพื่อป้องกันโรคเรื้อรัง การลดดื่มสุราเพื่อป้องกันโรคตับและอุบัติเหตุ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นทั้งการสื่อสารแบบส่งเสริมโดยไม่มีตัวบทกฏหมาย แต่บางกิจกรรมมีตัวบทกฏหมายกำหนดเป็นนโยบายของประเทศเพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักและมีจิตสำนึกที่จะดูแลรักษา และป้องกันสุขภาพของตนเองและบุคคลที่เกี่ยวข้องและเป็นการลดค่าใช้จ่ายกูแลรักษาตนเอง ลดงบประมาณในการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข ดังนั้นหากประชาชนไม่มีความรู้ความเข้าใจในการใช้แหล่งข้อมูลและข้อมูลอย่างรู้จริง อาจจะนำมาซึ่งปัญหาได้ ดังนั้นการสร้างภูมิคุ้มกันในการใช้สื่อเพื่อให้เกิดสุขภาพที่ดีจำเป็นต้องเข้าใจสื่อและรู้จักเลือกใช้สื่อและข้อมูลที่มีคุณภาพ ถูกต้อง รู้จักวิเคราะห์ และประเมินข้อมูลและบริการเพื่อความปลอดภัยกับชีวิตตนเอง

จะเห็นได้ว่า การสื่อสารสุขภาพมีความสัมพันธ์อย่างยิ่งกับความรอบรู้ด้านสุขภาพ จากนิยามเริ่มต้นของความรอบรู้ด้านสุขภาพตาม WHO ว่าเป็นทักษะทางปัญญาและทักษะทางสังคมของบุคคล ที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจและความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจและใช้ข้อมูลข่าวสารและบริการสุขภาพเพื่อส่งเสริมและคงดำรงรักษาสุขภาพตนเองให้ดีนั้น จะพบว่า การสื่อสารสุขภาพในชีวิตประจำวันของบุคคลต้องใช้ทั้งทักษะทางสังคม ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคลและกลุ่มตลอดเวลา และต้องใช้กระบวนการทางปัญญาที่จะเข้าถึง เข้าใจ ประเมินและตัดสินใจนำความรู้ไปสู่การเปลี่ยนความเชื่อ การเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองโดยเฉพาะพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียง 3 ด้านคือ พฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง พฤติกรรมความปลอดภัย และพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองได้ซึ่งจะเป็นทั้งภูมิคุ้นกันในชีวิตตนเองและเป็นหนทางในการแก้ปัญหาสุขภาพได้อย่างแท้จริง ดังนั้น การเรียนรู้ในบทนี้จึงให้ความสำคัญกับ การสื่อสารสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากประสบการณ์ที่ดีในการลงมือกระทำพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงได้ด้วยตนเองอย่างยั่งยืนต่อไป

  1. การสื่อสารสุขภาพ เป็นเครื่องมือและกลวิธีสำคัญของบุคลากรสุขภาพในการถ่ายทอดข่าวสาร ความรู้ ความคิด เจตคติ อารมณ์ แรงจูงใจและสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวกับสุขภาพที่เป็นประเด็นสำคัญเพื่อการเข้าถึงประชาชนทุกระดับ ทั้งระหว่างบุคคล กลุ่มหรือองค์กรสาธารณะโดยผ่านสื่อบุคคล สื่อออนไลน์สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนําไปสู่การดูแลรักษา การป้องกัน และส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยยึดหลักความพอเพียงในการดำเนินชีวิตประจำวัน
  2. ความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นความสามารถของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูล การทำความเข้าใจข้อมูลที่ได้รับและใช้ข้อมูลสารสนเทศในทางส่งเสริมและดูแลตนเองเพื่อคงไว้ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีของตนเอง ครอบครัวและชุมชน ซึ่งเป็นระดับความสามารถของประชาชน ที่จะเข้าใจภาษาในการติดต่อสื่อสาร สามารถอ่านออกเขียนได้อย่างเข้าใจในความหมายของข้อมูลได้อย่างถูกต้องเพื่อนำไปป้องกันและส่งเสริมสุขภาพตนเอง รวมถึงการมีความตระหนักรู้ถึงวิธีการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง มีการเรียนรู้ที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถควบคุมสุขภาพที่ดีได้ด้วยตนเองภายใต้การใช้หรือที่มีอยู่ของทรัพยากรหรือสิ่งสนับสนุนตนเองอย่างพอดี
  3. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ มาจากรากฐานแนวคิดทางจิตวิทยาและกระบวนการคิดทางปัญญาที่เกิดจากการเรียนรู้และประสบการณ์ตรงของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับปัจจัยทางสังคม โดยประชาชนทุกคนสามารถเป็นนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตนเองได้ด้วยการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมมาเป็นพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงซึ่งจะช่วยป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและภัยอันตรายต่อชีวิต และบุคลากรสุขภาพก็สามารถเป็นนักปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนด้วยการใช้กลยุทธ์ในการเปลี่ยนการรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและการสร้างแรงจูงใจก่อนที่จะลงมือกระทำการเปลี่ยนพฤติกรรมใหม่และให้การเสริมแรงทางบวกเพื่อให้พฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงนั้นยังคงอยู่ต่อเนื่อง
  4. พฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียง เป็นการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยยึดหลักการดำเนินชีวิตอย่างประมาณตน มีเหตุผล รอบคอบ มีคุณธรรม มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี และปรับตัวเพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข อยู่อย่างมีสติ อยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยการเห็นคุณค่าของการบริโภค มีการวางแผนป้องกันความเสี่ยง และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงเพื่อการมีสุขภาพที่ดีและไม่เจ็บป่วยเรื้อรัง ด้วยการตรวจสุขภาพตนเองสม่ำเสมอ การดูแลสุขภาพตนเอง การอยู่แบบพอเพียง และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุข โดยประเมินจากพฤติกรรม 3 ด้านคือ พฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง พฤติกรรมความปลอดภัย และพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง
  5. การสื่อสารสุขภาพและความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความเกี่ยวข้องกัน ด้วยบุคคลที่สามารถสื่อสารด้านสุขภาพได้ดี มักจะต้องมีความรอบรู้และมีความเข้าใจในข้อมูลข่าวสารที่ตนเองได้รับดีพอ สามารถประเมินข้อมูลเหล่านั้นเพื่อการตัดสินใจบางอย่างได้ เพื่อบุคคลจะได้สื่อสารกับบุคลากรสุขภาพหรือกับบุคคลอื่นให้เข้าใจสุขภาพของตนเองได้ ดังนั้นบุคคลที่มีความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำหรือมีข้อจำกัดในการที่จะเรียนรู้ด้านสุขภาพด้วยตนเอง อาจจะมีผลสืบเนื่องมาจากคุณภาพของสื่อหรือวิธีการสื่อสารที่ไม่ได้คุณภาพ เนื่องจากบุคลากรสุขภาพและประชาชนเองก็จะเป็นทั้งผู้ส่งสาร สื่อ หรือช่องทางการสื่อสารและอีกทั้งเป็นผู้รับสารที่สำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาวะที่ดีของประชาชนในสังคมตามบริบทที่แตกต่างกัน
  6. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร เมื่อเรียนรู้ใน 3 หลักสูตรจบแล้ว ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถ
  7. นำแนวคิดการสื่อสารสุขภาพมาใช้ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของตนเองได้
  8. นำแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงของตนเองได้
  9. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับพฤติกรรมสุขภาพ
  10. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงอยู่ในระดับที่สูงขึ้น
  11. มีระดับ BMI/ระดับน้ำหนักตัว/ระดับความดันโลหิต หรือจำนวนปัจจัยเสี่ยงลดลง

เมื่อเรียนรู้ใน 3 หลักสูตรจบแล้ว ประชาชนกลุ่มเป้าหมายสามารถ

  1. นำแนวคิดการสื่อสารสุขภาพมาใช้ในการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของตนเองได้
  2. นำแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ มาใช้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงของตนเองได้
  3. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและการปรับพฤติกรรมสุขภาพ
  4. มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงอยู่ในระดับที่สูงขึ้น
  5. มีระดับ BMI/ระดับน้ำหนักตัว/ระดับความดันโลหิต หรือจำนวนปัจจัยเสี่ยงลดลง

สาระ

รายละเอียดตัวชี้วัด

น้ำหนักคะแนน

ก่อน หลัง

ติดตาม

การสื่อสารสุขภาพ อธิบายกระบวนการสื่อสาร/เครื่องมือ/กลวิธีที่ใช้ในการสื่อสารสุขภาพได้ระหว่างบุคลากรสุขภาพกับประชาชน ต่ำ/ปานกลาง มาก มาก
การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความสามารถของประชาชนในการเข้าถึง เข้าใจ ประเมินและประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพได้ ต่ำ/ปานกลาง มาก มาก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียง มีการเปลี่ยนแปลงการปฎิบัติตนในชีวิตประจำวันด้านสุขภาพใน 3 ด้านคือ พฤติกรรมอยู่อย่างพอเพียง พฤติกรรมความปลอดภัย และพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง ต่ำ/ปานกลาง มาก มาก
  1. อ่าน/ฟังเพื่อศึกษาค้นคว้า เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ และการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
  2. จับประเด็นสำคัญ ลำดับเหตุการณ์จากการอ่านการฟังจากสื่อสุขภาพที่มีความซับซ้อน
  3. วิเคราะห์สิ่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อสารกับผู้อ่าน สามารถวิพากย์ ให้ข้อเสนอแนะในแง่มุมต่าง ๆ
  4. ประเมินความน่าเชื่อถือ คุณค่า แนวคิดที่ได้จากสิ่งที่อ่านการฟังอย่างหลากหลาย
  5. แสดงความคิดเห็น โต้แย้ง สามารถสรุปโดยมีข้อมูลอธิบาย สนับสนุนอย่างเพียงพอและสมเหตุสมผล
  1. รักสุขภาพตนเองรักครอบครัวและสังคม
  2. ซื่อสัตย์สุจริต
  3. มีวินัยมีความรับผิดชอบ
  4. มีความใฝ่เรียนรู้
  5. อยู่อย่างพอเพียง
  6. มุ่งมั่นในการทำงาน
  7. รักความเป็นไทย
  8. มีจิตสาธารณะ
สมรรถนะหลัก ทักษะชีวิต ทักษะการเรียนรู้และเทคโนโลยี
  1. ความสามารถในการสื่อสาร
  2. ความสามารถในการคิด
  3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
  4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
  5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้
  1. รู้จักปรับตัว
  2. ใส่ใจดูแลตัวเอง
  3. รู้จักเข้าสังคม
  4. เรียนรู้ค่านิยมไทย
  5. มีความเป็นผู้นำ
  6. รับผิดชอบหน้าที่
  1. คิดสร้างสรรค์
    ใส่ใจนวัตกรรมและเทคโนโลยี
  2. มีวิจารณญาณและมีเหตุผล
  3. เต็มใจร่วมมือ
  4. หมั่นหาความรู้รอบด้าน
  5. ริเริ่มสิ่งใหม่
  1. E-book ความรอบรู้ด้านสุขภาพ:การวัดและการพัฒนา (อังศินันท์ อินทรกำแหง,2560) เข้าอ่านได้ URL link https://online.pubhtml5.com/twmt/nuvy/
  2. การประยุกต์ใช้หลักทฤษฎีทางด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในหน่วยบริการสุขภาพโดยอังศินันท์ อินทรกำแหง (2565) เข้าชมได้ที่ link https://www.youtube.com/watch?v=VK3pW0Ao6LI
  3. ความสัมพันธ์ของการสื่อสารสุขภาพ ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพพอเพียง โดย วช และ มศว (12 นาที 22 วินาที) ที่ https://youtu.be/7d83RvrC4WM
  4. E-book ความรู้เรื่อง NCDs Health Literacy โดย กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (2564) ที่ https://online.fliphtml5.com/hvpvl/lyaf/#p=1
  5. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพตามหลัก 2 อ. โดย กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2561) ที่ http://www.hed.go.th/linkHed/367
  6. รวมเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพสำหรับกลุ่มวัยทำงาน โดย กลุ่มวิชาการและพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2563) ที่ http://www.hed.go.th/linkHed/408
  7. เครื่องมือและโปรแกรมการประเมิน HL และ HB กลุ่มวัยทำงาน โดย กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (2561) ที่ http://www.hed.go.th/linkHed/372
  8. Podcast เรื่อง“สุขภาพดีเป็นเรื่องไลฟ์สไตล์ (5 Minutes Podcast EP.786) โดย ประวิทย์ สุขหรรษา ที่ https://www.youtube.com/watch?v=Ty1KoKfr45g
  9. Podcast หลัก 10 ประการชนะโรค NCDs โดย นพ.บุญชัย อิศราพิสิษฐ์ (เวลา 38.04 นาที) ที่ https://www.youtube.com/watch?v=v7Z0YrnhJgk
  10. Health Campus สู่ Health Town โดย นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์ (เวลา 1 ชั่วโมง 53 นาที 42 วินาที) ที่ https://youtu.be/tMnP2rk6x2c
  11. วิธีการจัดการเรียนรู้ผ่านการใช้ห้องประชุมออนไลน์ มีดังนี้