หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรสุขภาพแกนนำ

หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรสุขภาพแกนนำ

เพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและ ปรับพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงานที่เสี่ยงโรค NCDs

เผยแพร่วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567

Srinakharinwirot University

หลักสูตรสำหรับบุคลากรสุขภาพนำไปใช้ในการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงของกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs วัยทำงาน

การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy: HL) และปรับพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavioral Modification-HBM) มีการดำเนินการในต่างประเทศ ที่ให้ความสำคัญของความรอบรู้ด้านสุขภาพ มีความเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Health literacy and lifelong learning are closely related) นั่นคือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพเป็นหลักสูตรชีวิต (Begoray et al., 2012) ส่วน Nutbeam (2000) ได้เสนอแนะการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพที่มุ่งเน้นพัฒนาในระดับวิจารณญาณ (Critical health literacy) ผ่านการสื่อสารสุขภาพ การถ่ายโอนความรู้โดยยึดสภาพบริบทของชุมชนเป็นฐาน ให้เกิดผลลัพธ์คือ เพิ่มพลังในการปรับตัวและเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ การเพิ่มพลังอำนาจให้กับชุมชน/องค์กรเข้มแข็งด้วยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำกิจกรรมในชุมชน/องค์กร

วัตถุประสงค์โครงการ

การแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs ด้วยการเน้นพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้มี 3 ทักษะที่จำเป็นคือ ทักษะการเป็นนักพัฒนา HL  ทักษะการเป็นนักสื่อสารสุขภาพเชิงบวกและทักษะการเป็นนักปรับพฤติกรรม โดยมุ่งเน้นตามกระบวนการชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ (Learning based Health Literacy Community) เพื่อเป้าหมายสำคัญคือ คนไทยกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs  วัยทำงานมี HL และพฤติกรรมสุขภาพตามหลักพอเพียงเพื่อลดโรค NCDs ที่สูงขึ้น ให้กลุ่มเป้าหมายสามารถประเมินตนเองและดูแลรับผิดชอบสุขภาพได้ด้วยตนเองอยู่ตลอดเวลา ตามความหมายของ “สุขภาพตามหลักพอเพียง” 3 ด้านคือ 1) พฤติกรรมการอยู่อย่างพอเพียง 2) พฤติกรรมความปลอดภัย และ 3) พฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง ทั้งด้านอาหาร ออกกำลังกาย การจัดการอารมณ์และการตรวจสุขภาพประจำด้วยกระบวนการวิจัยพัฒนาและใช้สื่อความรู้ในรูปเทคโนโลยี เช่น เกมส์, clip video, role play, Infographic, Podcast, Amination, e-book เป็นต้น ผ่านช่องทางสื่อสารทางออนไลน์

ทีมวิจัย

หัวหน้าโครงการ

รศ.ดร. อังศินันท์ อินทรกำแหง
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว)

ผู้ร่วมงานวิจัย

รศ.ดร.ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ สำนักสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา มศว
ผศ.ดร.อารยา เชียงของ คณะพยาบาลเกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ผศ.ดร.นิวัฒน์ ศรีสวัสดิ์ วิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.ปิยะ บูชา สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ดร.สุพิชชา วงค์จันทร์ นักวิชาการสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข